วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีการเชิงสัจพจน์

วิธีการเชิงสัจพจน์(Axiomatic  Method  or  Postulational  Method)
                        ในสมัยก่อนนักคณิตศาสตร์พบทฤษฎีบทต่าง    จากการลองผิดลองถูก  หรือพบทฤษฎีบทจากกระบวนการเหตุผลเชิงสหัชญาณ  ที่ได้ข้อความคาดคะเนว่าอาจจะเป็นจริงแล้วพิสูจน์ว่าข้อความคาดคะเนเป็นจริงในภายหลัง  หรือ  นักคณิตศาสตร์อาศัยการคำนวณเฉพาะกรณี(special  Case)  ดังนั้นจึงปรากฏว่า  มีทฤษฎีบทบางทฤษฎีบทอาจจะไม่ถูกต้องสมบูรณ์  เนื่องจากยังไม่มีข้อพิสูจน์ยืนยัน
                การพิสูจน์โดยเหตุผลเชิงนิรนัย  ทำให้แน่ใจได้ว่า  ทฤษฎีบทนั้น    ถูกต้อง  ตัวอย่าง  เช่น  ชาวอียิปต์สมัยโบราณมีความรู้ที่ได้จากปรุสบการณ์การทดลองว่า  ถ้ารูปสามเหลี่ยมที่มีความยาวด้านเป็น 3 , 4 และ  5  แล้ว  จะได้ผลว่ารูปสามเหลี่ยมนั้นเป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก  ต่อมาชาวกรีกโบราณก็สามารถพิสูจน์เป็นทฤษฎีบทได้ว่า  ถ้ามีรูปสามที่มีความยาวของด้านเป็น a , b, c    หน่วย  โดยเงื่อนไขว่า  ผลบวกของ a2  กับ  b2   เท่ากับ c2  แล้วจะได้ผลว่า  รูปสามเหลี่ยมนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก  ซึ่งถ้าใช้เหตุผลเชิงอุปนัยก็ต้องหาตัวอย่างของรูปสามเหลี่ยมจำนวนนับไม่ถ้วน  มาแสดงความจริงข้อนี้
                นักคณิตศาสตร์พยายามสร้างระบบที่ถูกต้องตามหลักเหตุผลขึ้นมาจากความต้องการนี้  จึงเห็นว่าในการที่จะให้ระบบที่สร้างขึ้นถูกต้องสมบูรณ์  ก็ต้องมีความเข้าใจร่วมกัน(Mutually  Understanding)  หรือมีความเข้าใจตรงกันต่อความหมายต่าง    เป็นต้นว่า  ความหมายของคำ  หรือ  พจน์(Term)  หรือสัญลักษณ์ต่าง    ที่ใช้  ตลอดจนข้อตกลงขันมูลฐาน(Axiom  ,  Postulate, Assumption)  หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งเป็นศัพท์ทางวิชาการว่า  สัจพจน์  แล้วจึงเกิดทฤษฎีบทต่าง    ขึ้นระบบที่นักคณิตศาสตร์ว่าถูกต้อง  จึงเกิดเป็นโครงสร้างทางคณิตศาสตร์(Mathematical  Structure)  หรือ  ระบบคณิตศาสตร์(Mathematical  System)

                องค์ประกอบของโครงสร้างทางคณิตศาสตร์มีดังนี้

                        1.พจน์อนิยาม(Undefined  Term)  หรือพจน์ที่ไม่ต้องให้คำจำกัดความ
                        2.พจน์นิยาม(Defined  Term)  หรือพจน์ที่ให้คำจำกัดความ
                        3.สัจพจน์  หรือ  ข้อตกลงขั้นมูลฐาน
                        4.ทฤษฎีบท
                        ในที่นี้จะกล่าวถึงองค์ประกอบของโครงสร้างทางคณิตศาสตร์แต่ละอย่าง  พอเป็นพื้นฐานให้เกิดความเข้าใจเท่านั้น
                        1.พจน์อนิยาม
                        อาจจะมีบางคนเข้าใจว่า  พจน์หรือคำต่าง    ทุก    คำ  ควรให้เป็นคำจำกัดความได้  โดยอธิบาย  พจน์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร  ตัวอย่าง  เช่น  ต้องการให้คำจำกัดความของคำว่าญาติ
สังเกตได้ว่า  การให้คำจำกัดความของคำ    หนึ่งนั้น  ได้เกิดการวกเวียนกลับมาใช้คำเดิมในการอธิบายความหมายอีก  เพราะภาษาที่ใช้พูดประจำวันมีคำพูดอยู่จำกัดอยู่จำนวนหนึ่ง  ถึงแม้จะมีคำพูดมากมายเพียงใดก็ตาม  ก็นับว่ามีอยู่อย่างจำกัด  ดังนั้นนักคณิตศาสตร์จึงสร้างระบบเหตุผลหรือโครงสร้างทางคณิตศาสตร์โดยให้มีคำบางคำ  หรือพจน์บางพจน์  เป็นพจน์ที่ไม่ต้องให้คำจำกัดความ  แต่ต้องทราบความหมายให้ตรงกัน
                        ในทางคณิตศาสตร์ก็มีบางคำที่ไม่สามารถอธิบายความหมายได้  เช่นคำว่า  จุดเส้น  แต่คำทั้งสองนี้เรารูจักและคุ้นเคยกันมาแล้ว  หรือสร้างความคุ้นเคยให้เกิดขึ้นได้
                พจน์ซึ่งไม่สามารถนำคำอื่นมาอธิบายได้  จึงเรียกว่า  พจน์อนิยาม  หรือเรียก สั้น    ว่า  อนิยาม
                        ตัวอย่างพจน์ที่เป็นอพจน์นิยาม  เช่น  ถูก  ผิด  จริง  เท็จ  มาก  น้อย  พอดี  รัก  ชอบ  น่าเกลียด  ชัง  อยู่ใน  เป็นสมาชิก  เซต  เป็นต้น
                        2.พจน์นิยาม
                          คำหรือพจน์ที่สามารถนำคำอื่นมาอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายโดยไม่เกิดการวกเวียน  ก็จะเป็นคำหรือพจน์ที่ให้คำจำกัดความได้  จึงเรียกคำที่ให้คำจำกัดความได้นี้ว่า   พจน์นิยาม  และต้องไม่ลืมว่าคำบางคำเท่านั้นที่สามารถกำหนดพจน์นิยามได้
                        การกำหนดพจน์นิยามควรยึดหลักดังนี้
                            .พจน์นิยามที่ดีควรระบุคุณสมบัติที่ทำให้เข้าใจง่าย
                            .พจน์นิยามที่ดีควรมีความรัดกุม 
                            . พจน์นิยามที่ดีควรจะใช้คำ  พจน์อนิยาม  หรือคำที่เคยให้บทนิยามมาแล้ว
                            .คำหรือพจน์อันหนึ่ง  ควรกำหนดพจน์นิยามเพียงอย่างเดียว
                            . พจน์นิยามที่ดีต้องเป็นเงื่อนไขไปกลับ(Bicondition    หรือ   Equivalance)
ในรูป  p«q
    . พจน์นิยามที่ดีไม่ควรจะมีข้อโต้งเถียงซึ่งทำให้เกิดการขัดแย้งได้
    .ไม่ควรกำหนดพจน์นิยามขึ้นมาแล้วไม่เคยนำมาใช้ในระบบเลย
    . พจน์นิยามที่ดีเมื่อกำหนดแล้วก็ต้องบอกได้ว่า  สิ่งใดเป็นไปตามพจน์
นิยามนั้น  หรือสิ่งใดไม่เป็นไปตามพจน์นั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น