วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

การเกิดพาราดอกซ์รัสเซลล์


การเกิดพาราดอกซ์รัสเซลล์
                ในสมัยแรก    ที่มีการนำเรื่องเซตมาแนะนำและประยุกต์ใช้  มีข้อสันนิษฐานว่า  อาจจะเกี่ยวข้องกับการนับจำนวนหรือการทำรอยคะแนน(Tally)  การนับจำนวนมักเป็นการนับเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำ    กันและอาจจะทำโดยใช้ก้อนกรวดเม็ด    เก็บกองไว้  เมื่อจะใช้นับจำนวนก็หยิบก้อนกรวดครั้งละหนึ่งเม็ดต่อเหตุการณ์ที่เกิด  1  เหตุการณ์  หรือสำหรับกลาสีเรือ  วิธีนับวันที่ผ่านไปแต่ละวัน  เมื่อแล่นเรือออกทะเล  ก็ทำโดยการขมวดปมไว้บนเชือด  ปมหนึ่งแทน  1  วันที่ผ่านไป  จำนวนวันที่ผ่านไปทั้งหมดก็จำนวนปมเชือกที่ขมวดไว้นั่นเอง  วิธีการเช่นนี้ก็คือกระบวนการของการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง   (One – to – one  Correspondence)  ซึ่งเป็นการจับคู่ระหว่าง  ปมเชือกกับวันที่แล่นเรือผ่านไปแล้ว  และเป็นลักษณะการจับคู่ระหว่างเซตของปมเชือกที่ขมวกไว้กับเซตของวันที่ผ่านไป
                ความยากลำบากในเชิงเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับเซต  เกิดมีขึ้นจากวิธีการนับ  หรือ  วิธีทำรอยคะแนน  นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน  คือแคนเตอร์  ได้ประยุกต์วิธีการนับที่กล่าวนี้กับเซตอนันต์(Infinite  Set)  เซตของจำนวนธรรมชาติ  และผลที่ได้ทำให้เกิดความขัดแย้งที่เรียกว่า  พาราดอกซ์การประยุกต์ของแคนเตอร์ดังเช่น  เขาสามารถพิสูจน์ว่า  เซตของจำนวนธรรมชาติสามารถจับคู่แบบหนึ่งต่อหนึ่ง  กับเซตของจำนวนเต็มคู่ได้  และยังพิสูจน์ได้ว่า  เซตของจำนวนธรรมชาติไม่สามารถจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งกับเซตจำนวนจริงได้  แคเตอร์จัดเซตของจำนวนธรรมชาติ  และเซตของจำนวนเต็มคู่  ให้มีลักษณะที่เขาเรียกว่า  เชิงตัวเลข(Numerous)  คือขนาดของจำนวนสมาชิกในเซตของจำนวนธรรมชาตินั้นแตกต่างจากขนาดของเซตจำนวนจริง  เขาจึงสรุปได้ว่า  สำหรับเซตอนันต์มีลักษณะของเซตอยู่อย่างน้อย  2  แบบที่แตกต่างกัน  เรียกขนาดของเซตที่แตกต่างกันแบบที่กล่าวนี้ว่า  จำนวนทรานซ์ไฟไนท์(Transfinite  Number)  ซึ่งจำนวนดังกล่าวนี้ใช้แทนขนาดของเซตอนันต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น